วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สรุปบทเรียนคาบที่2

วางแผนงานการสอบบัญชี

ขั้นตอนของการวางแผนงานสอบบัญชี

ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้


1. การพิจารณารับงานสอบบัญชี
2. การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบ
3. การวิเคราะห์เปรียบเทียบในเบื้องต้น
4. การกำหนดระดับความมีสาระสำคัญ
5. การประเมินความเสี่ยงในการสอบบัญชีที่ยอมรับได้และความเสี่ยงสืบเนื่อง
6. การทำความเข้าใจในระบบการควบคุมภายใน และการประเมินความเสี่ยงจากการควบคุม
7. การพัฒนาแผนการสอบบัญชีโดยรวมและแนวการสอบบัญชี

การพิจารณารับงานสอบบัญชี

การพิจารณารับงานสอบบัญชีมีความสำคัญต่อผู้สอบบัญชีมาก เนื่องจากการรับงานตรวจสอบกิจการที่มีความเสี่ยงสูง หรือกิจการที่ผู้บริหารมีเจตนาไม่สุจริต ย่อมทำให้ผู้สอบบัญชีมีความยากลำบากในการตรวจสอบ และอาจตรวจไม่พบข้อผิดพลาด ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้สอบบัญชีถูกฟ้องร้องจากผู้ใช้งบการเงินหรืออาจทำให้หน่วยงานกำกับดูแลมีความสงสัยในการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีได้

การรับงานสอบบัญชี จำแนกได้ 2 กรณี ดังนี้

1. การรับงานสอบบัญชีสำหรับลูกค้ารายใหม่

ผู้สอบบัญชีจะรวบรวมข้อมูลและประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นก่อนที่จะรับงานสอบบัญชีสำหรับลูกค้ารายใหม่ ผลจากการรวบรวมข้อมูลและประเมินความเสี่ยงดังกล่าว อาจทำให้ผู้สอบบัญชีปฏิเสธที่จะรับงานตรวจสอบลูกค้ารายนั้นเนื่องจากการรับงานสอบบัญชีที่มีความเสี่ยงสูงมีผลทำให้ผู้สอบบัญชีไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานการสอบบัญชี หรือปฏิบัติงานผิดมรรยาท หรือจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีซึ่งมีผลทำให้ผู้สอบบัญชีเสื่อมเสียชื่อเสียง หรือถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้

ข้อมูลเบื้องต้นที่่ผู้สอบบัญชีควรรวบรวมเพื่อประเมินความเสี่ยงดังกล่าว ได้แก่

- ประเภทธุรกิจของลูกค้า

เช่น ผลิตอัญมณี (ความเสี่ยงสูงในเรื่องของราคา และความปลอดภัย) , ผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (ความเสี่ยงสูงในเรื่องของความล้าสมัย)

- ผู้เป็นเจ้าของและผู้บริหารของกิจการที่จะตรวจสอบ

เช่น กล้าได้กล้าเสีย (ความเสี่ยงสูง) , ไม่กล้าได้กล้าเสีย (ความเสี่ยงต่ำ)

- ฐานะการเงินของลูกค้า ฐานะทางสังคม

- ลักษณะของรายงานที่ต้องนำส่งหน่วยงานกำกับดูแล

- กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของลูกค้า

ในกรณีที่งบการเงินปีก่อนของลูกค้าตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีอื่นผู้สอบบัญชีคนใหม่อาจต้องการทราบว่ามีเหตุผลทางจรรยาบรรณ หรือมรรยาทของวิชาชีพประการใดหรือไม่ที่ตนควรนำมาพิจารณาในการรับงานสอบบัญชี ในทางปฏิบัติผู้สอบบัญชีที่กำลังพิจารณางานใหม่ต้องมีหนังสือไปยังผู้สอบบัญชีเดิมโดยมีข้อความแจ้งให้ทราบว่าตนได้รับการทาบทามให้เป็นผู้สอบบัญชีของกิจการที่ผู้สอบบัญเดิมเคยตรวจสอบ และสอบถามผู้สอบบัญชีเดิมว่า มีเหตุผลทางจรรยาบรรณ หรือมรรยาทของวิชาชีพใดหรือไม่ที่ควรนำมาพิจารณาในการรับลูกค้ารายนี้ ถ้าผู้สอบบัญชีเดิมตอบกลับมาว่ามีเหตุผลทางจรรยาบรรณหรือมรรยาทของ
วิชาชีพผู้สอบบัญชีที่กำลังพิจารณางานใหม่ต้องชี้แจงให้กิจการผู้ทาบทามทราบถึงความจำเป็นที่จะต้องให้ผู้สอบบัญชีเดิมแจ้งให้ตนทราบถึง รายละเอียดของเหตุผลทางจรรยาบรรณ หรือมรรยาทของวิชาชีพ และข้อขัดแย้งเกี่ยวกับการใช้หลักการบัญชี และวิธีการตรวจสอบโดยมีหนังสือไปยังผู้สอบบัญชีเดิม ในกรณีที่ถูกปฏิเสธจากกิจการที่ทาบทามหรือข้อมูลที่จะขอทราบจากผู้สอบบัญชีเดิมถูกจำกัด ผู้สอบบัญชีที่กำลัง พิจารณางานใหม่ต้องขอทราบเหตุผลจากกิจการนั้น แล้วนำมาพิจารณาว่าควรรับงานสอบบัญชีสำหรับลูกค้ารายนี้หรือไม่

2. การรับงานสอบบัญชีสำหรับลูกค้ารายเดิม (Continuing Client)

ในกรณีของการรับงานสอบบัญชีสำหรับลูกค้ารายเดิม ผู้สอบบัยชียังคงต้องพิจารณาและประเมินความเสี่ยงว่าตนจะรับงานสอบบัญชีสำหรับลูกค้ารายเดิมนี้ต่อไปหรือไม่ ผู้สอบบัญชีอาจปฏิเสธลูกค้ารายเดิมด้วยเหตุผลต่างๆกัน เช่น

- ลูกค้าไม่ได้จ่ายค่าสอบบัญชี
- การมีข้อขัดแย้งเกี่ยวกับการถูกจำกัดขอบเขตในการตรวจสอบ
- กิจการมีการเปลี่ยนแปลงดครงสร้างผู้ถือหุ้นและผู้บริหาร ซึ่งผู้สอบบัญชีประเมินแล้วว่าผู้บริหารชุดใหม่มีปัญหาเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต

ในการตอบรับงานสอบบัญชีผู้สอบบัญชีควรต้องส่งหนังสือตอบรับงานสอบบัญชี

(Engagement Letter) 2 ฉบับ ก่อนที่จะเริ่มงานสอบบัญชี เพื่อยืนยันและให้กิจการยอมรับ

แผน ในแง่ของ Audit

ลักษณะ

Interim Audit(การตรวจสอบระหว่างปี)

ตรวจได้แค่ระบบควบคุมภายใน

(Test Of Control)

ระยะเวลา

---------------------- > 31 ธ.ค.

ขอบเขต การสุ่มตัวอย่าง (ขนาดตัวอย่าง) สุ่มตัวอย่างขนาดไหนถึงจะพอเชื่อมั่นได้

(เล็ก)

ลักษณะ

Year End Audit(การตรวจสอบสิ้นปี)

ตรวจสอบงบการเงิน

(Substantive Test)


ระยะเวลา

------------------>วันที่ยื่นงบการเงิน


ขอบเขต การสุ่มตัวอย่าง (ขนาดตัวอย่าง) สุ่มตัวอย่างขนาดไหนถึงจะพอเชื่อมั่นได้

(ใหญ่)

ระบบควบคุมภายใน (Test Of Control)

- ป้องกันการทุจริต และข้อผิดพลาด

- ถ้าบริษัทควบคุมดี ความเสี่ยงก็จะต่ำ

ตรวจสอบงบการเงิน (Substantive Test) เพื่อดูว่าบริษัทได้ทำตามระบบการควบคุม

ภายในหรือไม่ ถ้าบริษัทควบคุมดี ความเสี่ยงก็จะต่ำ

ผู้สอบบัญชีควรไปตรวจเยี่ยมสถานประกอบการ (Plant Tour)

+ พกความสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ

+ record เช่น ถ้ามีคนเข้าออกประตูโรงงานได้สะดวก ซึ่่งจะเหตุที่ขัดต่อความเสี่ยง

ในเรื่องความปลอดภัย

+ สัมภาษณ์ผู้บริหาร เช่น สัมภาษณ์เกี่ยวกับ Project อีก2 หรือ 3 ปี เป็นยังไง

+ สัมภาษณ์คนงาน เช่น ตอกบัตรเข้าทำงานแทนกันได้ไหม

+ ขอดูสมุดบัญชี ---> วิเคาระห์แนวโน้มทิศทางของบริษัทว่าเป็นยังไง วิเคาระห์

เปรียบเทียบเบื้องต้น)

ความมีสาระสำคัญ (Materiality)

ความมีสาระสำคัญ (Materiality) หมายถึง รายการหรือเหตุการณ์ทางบัญชี ซึ่่งหากผู้ใช้งบการเงินไม่ได้รับทราบแล้ว อาจตัดสินใจผิดไปจากกรณีที่ได้รับทราบ ความมีสาระสำคัญขึ้นอยู่กับขนาดและลักษณะของรายการทางบัญชีที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้ข้อมูล การพิจารณาว่าข้อมูลมีสาระสะคัญหรือไม่นั้น ให้พิจารณาจากผลกระทบที่มีต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจเป็นเกณฑ์

สาระสำคัญ (Materiality)

---> ถ้าเรารู้เราจะตัดสินใจอีกแบบหนึ่ง

---> สาระสำคัญของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน

---> ควรกำหนดสาระสำคัญไว้แต่เนิ่นๆ

ระดับความมีสาระสำคัญ

1. ดูขนาดของกิจการ
2. ถึงแม้ว่าจำนวนเงินจะเท่ากันแต่ผู้สอบบัญชีแต่ละคนจะคิดไม่เหมือนกัน
(ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของ Auditor แต่ละคน)





2 ความคิดเห็น:

  1. การจัดลำดับเนื้อหายังไม่ดีนะครับ แล้วประเด็นที่น่าจะผิดคือ

    "ตรวจสอบงบการเงิน (Substantive Test) เพื่อดูว่าบริษัทได้ทำตามระบบการควบคุมภายในหรือไม่ ถ้าบริษัทควบคุมดี ความเสี่ยงก็จะต่ำ "

    ส่วนรูปแบบบล็อกดูดีขึ้นกว่าเดิมเยอะมากครับ

    ตอบลบ
  2. ลืมบอก..รูปกลุ่มน่ารักมากนะครับ..คริคริ

    ตอบลบ