วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สรุปบทเรียนคาบที่1

- การสอบบัญชี...
คือ การรวบรวมหลักฐานและการประเมินฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน งบกระแสเงินสดว่าถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือไม่

- วัตถุประสงค์ของการสอบบัญชี...
เพื่อให้ผู้สอบบัญชีสามารถแสดงความเห็นต่องบการเงินว่า งบการเงินนั้นได้แสดงฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน งบกระแสเงินสด ของกิจการโดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือไม่

- ผู้เกี่ยวข้องที่ใช้ระบบบัญชีมี 3 ฝ่าย...
(1) Auditor ผู้ตรวจสอบบัญชี - ต้องให้ความเชื่อมั่น
(2) Management ผู้บริหาร ผู้ทำบัญชี – จัดทำตามมาตรฐานการบัญชีที่รองรับทั่วไปสิ่งที่ผู้บริหารให้การรองรับไว้
1.) เกิดขึ้นจริง / มีอยู่จริง
2.) ครบถ้วน3.) สิทธิ / ภาระผูกพัน
4.) การตีราคา / การวัดมูลค่า
5.) การแสดงรายการ / การเปิดเผยข้อมูล
(3) User ผู้ใช้ – จะได้รับรู้ฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน งบกระแสเงินสด จากรายงานประจำปีหรือจากงบการเงินที่นำเสนอ

- หลักการพื้นฐานของการตรวจสอบบัญชี...
(1) จรรยาบรรณหรือมารยาทของผู้สอบบัญชีผู้สอบบัญชีต้องปฏิบัติงานตรวจสอบงบการเงินตามจรรยาบรรณ หรือมารยาทของผู้สอบบัญชี (Code of Ethics for Professional Public Accountants) ที่กำหนดโดยสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพ หลักการพื้นฐานของจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีกำหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชี
(2) มาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไปมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป (Generally Accepted Auditing Standards : GAAS) หมายถึง แนวทางปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชีใช้เป็นเครื่องวัดคุณภาพผลงานของผู้สอบบัญชี
(3) วิจารณญาณในการสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอบบัญชีต้องวางแผนและปฏิบัติงานตรวจสอบงบการเงินโดยใช้วิจารณญาณในการสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ (Professional Skepticism) ต่อข้อมูลของกิจการ โดยคำนึงถึงสถานการณ์แวดล้อมที่อาจมีอยู่ ซึ่งเป็นเหตุให้ข้อมูลในงบการเงินขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ

- ข้อจำกัดของการตรวจสอบบัญชี...
(1) การใช้วิธีการทดสอบรายการในเรื่องของการตรวจสอบไม่สามารถเป็นหลักประกันได้ว่างบการเงินจะต้องมีความถูกต้องสมบูรณ์โดยปราศจากข้อผิดพลาดอย่างสิ้นเชิง เพราะผู้สอบบัญชีทดสอบรายการบัญชีแต่เพียงบางส่วนโดยการเลือกตัวอย่างขึ้นมาตรวจสอบ
(2) การใช้ดุลพินิจอย่างมีเหตุผลในการประเมินความเชื่อถือได้ของหลักฐานการสอบบัญชีหลักฐานการสอบบัญชีที่ได้มาไม่อาจให้ข้อสรุปได้ในตัวเอง แต่ผู้สอบบัญชีจะต้องใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาว่าหลักฐานการสอบบัญชีนั้นมีความเหมาะสมเพียงพอ ซึ่งนำไปสู่ข้อสรุปได้หรือไม่ เพียงใด
(3) ข้อจำกัดของระบบบัญชีและระบบการควบคุมภายในระบบบัญชีย่อมมีความบกพร่องเสมอ และระบบการควบคุมภายในของกิจการมีข้อจำกัดสืบเนื่องซึ่งไม่อาจป้องกัน ค้นหา และแก้ไขข้อผิดพลาด หรือรายการทุจริตได้ในทุกกรณี

1 ความคิดเห็น:

  1. น่าจะแยกสิ่งที่ผู้บริหารให้การรับรองไว้ เป็นประเด็นที่ชัดเจนกว่านี้นะครับ

    โดยภาพรวมแล้วสรุปได้ดีครับ แต่ควรจัดรูปแบบให้ดีกว่านี้นะครับ ตัวหนังสือมันติดๆ กันมากไปครับ

    อ.วัลลภ

    ตอบลบ