วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สรุปบทเรียนคาบที่3

Audit Risk : AR (ความเสี่ยงในการสอบบัญชี)
ซึ่งจะประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่
1. Inherent Risk : IR คือ ความเสี่ยงสืบเนื่อง เป็นความเสี่ยงที่ไม่สามารถขจัดให้เป็นศูนย์ให้หมดไปได้ ซึ่งแบ่งออกเป็น2ระดับคือ
- ความเสี่ยงระดับงบการเงิน เช่น ผู้บริหารไม่มีความซื่อสัตย์ กล้าได้กล้าเสีย อาจจะตกแต่งงบการเงินบิดเบือนความเป็นจริง
- ความเสี่ยงระดับยอดคงเหลือในบัญชี เช่นตรวจสอบบัญชีเงินสด ความเป็นไปได้ที่เงินอาจสูญหายหรือถูกยักยอก
2. Control Risk : CR คือ ความเสี่ยงจากการควบคุม เป็นความเสี่ยงที่ระบบบัญชี ซึ่งระบบควบคุมที่ดีต้องเป็นระบบที่สามารถป้องกันผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากความเสี่ยงสืบเนื่องได้ เช่น เจ้าหน้าที่พนักงานธนาคารมีหน้าที่รับผิดชอบในการรวบรวมใบฝาก-ถอน เช็คและจัดทำงบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคารแต่หัวหน้างานทำการตรวจแค่แต่ว่าได้จัดทำงบฯหรือยัง แต่ไม่เคยตรวจทานในรายละเอียด ว่าถูกต้องหรือไม่
3. Detection Risk : DR คือ ความเสี่ยงจากการตรวจสอบ เป็นความเสี่ยงที่วิธีการตรวจสอบเนื้อหาสาระซึ่งผู้สอบบัญชีใช้อาจจะไม่สามารถตรวจพบการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จาก
- การเลือกสุ่มตัวอย่าง : อาจไม่พบข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริง
- วิธีการตรวจที่ใช้ไม่มีประสิทธิภาพ : ใช้วิธีการตรวจสอบถูกต้องหรือไม่
- มีข้อบกพร่องในการปฏิบัติงานตรวจสอบ : ไม่สามารถรับรู้ได้ แต่ควรสอบทานอย่างรอบคอบ

ระบบการควบคุมภายใน (Internal Control System)
คือ นโยบาย วิธีการปฏิบัติที่กำหนดขึ้น เพื่อให้กิจการบรรลุถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้สำเร็จ ซึ่งจะทำให้เกิดความมั่นใจเท่าที่จะสามารถทำได้ว่าการดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมีระเบียบและมีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบของการควบคุมภายใน (COSO)
1. สภาพแวดล้อมของการควบคุมภายใน
2. การประเมินความเสี่ยง
3. กิจกรรมการควบคุม
4. สารสนเทศและการสื่อสาร
5. การติดตามผล


การประเมินความเสี่ยงจากการควบคุม
(พิจารณาCR)




วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สรุปบทเรียนคาบที่2

วางแผนงานการสอบบัญชี

ขั้นตอนของการวางแผนงานสอบบัญชี

ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้


1. การพิจารณารับงานสอบบัญชี
2. การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบ
3. การวิเคราะห์เปรียบเทียบในเบื้องต้น
4. การกำหนดระดับความมีสาระสำคัญ
5. การประเมินความเสี่ยงในการสอบบัญชีที่ยอมรับได้และความเสี่ยงสืบเนื่อง
6. การทำความเข้าใจในระบบการควบคุมภายใน และการประเมินความเสี่ยงจากการควบคุม
7. การพัฒนาแผนการสอบบัญชีโดยรวมและแนวการสอบบัญชี

การพิจารณารับงานสอบบัญชี

การพิจารณารับงานสอบบัญชีมีความสำคัญต่อผู้สอบบัญชีมาก เนื่องจากการรับงานตรวจสอบกิจการที่มีความเสี่ยงสูง หรือกิจการที่ผู้บริหารมีเจตนาไม่สุจริต ย่อมทำให้ผู้สอบบัญชีมีความยากลำบากในการตรวจสอบ และอาจตรวจไม่พบข้อผิดพลาด ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้สอบบัญชีถูกฟ้องร้องจากผู้ใช้งบการเงินหรืออาจทำให้หน่วยงานกำกับดูแลมีความสงสัยในการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีได้

การรับงานสอบบัญชี จำแนกได้ 2 กรณี ดังนี้

1. การรับงานสอบบัญชีสำหรับลูกค้ารายใหม่

ผู้สอบบัญชีจะรวบรวมข้อมูลและประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นก่อนที่จะรับงานสอบบัญชีสำหรับลูกค้ารายใหม่ ผลจากการรวบรวมข้อมูลและประเมินความเสี่ยงดังกล่าว อาจทำให้ผู้สอบบัญชีปฏิเสธที่จะรับงานตรวจสอบลูกค้ารายนั้นเนื่องจากการรับงานสอบบัญชีที่มีความเสี่ยงสูงมีผลทำให้ผู้สอบบัญชีไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานการสอบบัญชี หรือปฏิบัติงานผิดมรรยาท หรือจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีซึ่งมีผลทำให้ผู้สอบบัญชีเสื่อมเสียชื่อเสียง หรือถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้

ข้อมูลเบื้องต้นที่่ผู้สอบบัญชีควรรวบรวมเพื่อประเมินความเสี่ยงดังกล่าว ได้แก่

- ประเภทธุรกิจของลูกค้า

เช่น ผลิตอัญมณี (ความเสี่ยงสูงในเรื่องของราคา และความปลอดภัย) , ผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (ความเสี่ยงสูงในเรื่องของความล้าสมัย)

- ผู้เป็นเจ้าของและผู้บริหารของกิจการที่จะตรวจสอบ

เช่น กล้าได้กล้าเสีย (ความเสี่ยงสูง) , ไม่กล้าได้กล้าเสีย (ความเสี่ยงต่ำ)

- ฐานะการเงินของลูกค้า ฐานะทางสังคม

- ลักษณะของรายงานที่ต้องนำส่งหน่วยงานกำกับดูแล

- กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของลูกค้า

ในกรณีที่งบการเงินปีก่อนของลูกค้าตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีอื่นผู้สอบบัญชีคนใหม่อาจต้องการทราบว่ามีเหตุผลทางจรรยาบรรณ หรือมรรยาทของวิชาชีพประการใดหรือไม่ที่ตนควรนำมาพิจารณาในการรับงานสอบบัญชี ในทางปฏิบัติผู้สอบบัญชีที่กำลังพิจารณางานใหม่ต้องมีหนังสือไปยังผู้สอบบัญชีเดิมโดยมีข้อความแจ้งให้ทราบว่าตนได้รับการทาบทามให้เป็นผู้สอบบัญชีของกิจการที่ผู้สอบบัญเดิมเคยตรวจสอบ และสอบถามผู้สอบบัญชีเดิมว่า มีเหตุผลทางจรรยาบรรณ หรือมรรยาทของวิชาชีพใดหรือไม่ที่ควรนำมาพิจารณาในการรับลูกค้ารายนี้ ถ้าผู้สอบบัญชีเดิมตอบกลับมาว่ามีเหตุผลทางจรรยาบรรณหรือมรรยาทของ
วิชาชีพผู้สอบบัญชีที่กำลังพิจารณางานใหม่ต้องชี้แจงให้กิจการผู้ทาบทามทราบถึงความจำเป็นที่จะต้องให้ผู้สอบบัญชีเดิมแจ้งให้ตนทราบถึง รายละเอียดของเหตุผลทางจรรยาบรรณ หรือมรรยาทของวิชาชีพ และข้อขัดแย้งเกี่ยวกับการใช้หลักการบัญชี และวิธีการตรวจสอบโดยมีหนังสือไปยังผู้สอบบัญชีเดิม ในกรณีที่ถูกปฏิเสธจากกิจการที่ทาบทามหรือข้อมูลที่จะขอทราบจากผู้สอบบัญชีเดิมถูกจำกัด ผู้สอบบัญชีที่กำลัง พิจารณางานใหม่ต้องขอทราบเหตุผลจากกิจการนั้น แล้วนำมาพิจารณาว่าควรรับงานสอบบัญชีสำหรับลูกค้ารายนี้หรือไม่

2. การรับงานสอบบัญชีสำหรับลูกค้ารายเดิม (Continuing Client)

ในกรณีของการรับงานสอบบัญชีสำหรับลูกค้ารายเดิม ผู้สอบบัยชียังคงต้องพิจารณาและประเมินความเสี่ยงว่าตนจะรับงานสอบบัญชีสำหรับลูกค้ารายเดิมนี้ต่อไปหรือไม่ ผู้สอบบัญชีอาจปฏิเสธลูกค้ารายเดิมด้วยเหตุผลต่างๆกัน เช่น

- ลูกค้าไม่ได้จ่ายค่าสอบบัญชี
- การมีข้อขัดแย้งเกี่ยวกับการถูกจำกัดขอบเขตในการตรวจสอบ
- กิจการมีการเปลี่ยนแปลงดครงสร้างผู้ถือหุ้นและผู้บริหาร ซึ่งผู้สอบบัญชีประเมินแล้วว่าผู้บริหารชุดใหม่มีปัญหาเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต

ในการตอบรับงานสอบบัญชีผู้สอบบัญชีควรต้องส่งหนังสือตอบรับงานสอบบัญชี

(Engagement Letter) 2 ฉบับ ก่อนที่จะเริ่มงานสอบบัญชี เพื่อยืนยันและให้กิจการยอมรับ

แผน ในแง่ของ Audit

ลักษณะ

Interim Audit(การตรวจสอบระหว่างปี)

ตรวจได้แค่ระบบควบคุมภายใน

(Test Of Control)

ระยะเวลา

---------------------- > 31 ธ.ค.

ขอบเขต การสุ่มตัวอย่าง (ขนาดตัวอย่าง) สุ่มตัวอย่างขนาดไหนถึงจะพอเชื่อมั่นได้

(เล็ก)

ลักษณะ

Year End Audit(การตรวจสอบสิ้นปี)

ตรวจสอบงบการเงิน

(Substantive Test)


ระยะเวลา

------------------>วันที่ยื่นงบการเงิน


ขอบเขต การสุ่มตัวอย่าง (ขนาดตัวอย่าง) สุ่มตัวอย่างขนาดไหนถึงจะพอเชื่อมั่นได้

(ใหญ่)

ระบบควบคุมภายใน (Test Of Control)

- ป้องกันการทุจริต และข้อผิดพลาด

- ถ้าบริษัทควบคุมดี ความเสี่ยงก็จะต่ำ

ตรวจสอบงบการเงิน (Substantive Test) เพื่อดูว่าบริษัทได้ทำตามระบบการควบคุม

ภายในหรือไม่ ถ้าบริษัทควบคุมดี ความเสี่ยงก็จะต่ำ

ผู้สอบบัญชีควรไปตรวจเยี่ยมสถานประกอบการ (Plant Tour)

+ พกความสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ

+ record เช่น ถ้ามีคนเข้าออกประตูโรงงานได้สะดวก ซึ่่งจะเหตุที่ขัดต่อความเสี่ยง

ในเรื่องความปลอดภัย

+ สัมภาษณ์ผู้บริหาร เช่น สัมภาษณ์เกี่ยวกับ Project อีก2 หรือ 3 ปี เป็นยังไง

+ สัมภาษณ์คนงาน เช่น ตอกบัตรเข้าทำงานแทนกันได้ไหม

+ ขอดูสมุดบัญชี ---> วิเคาระห์แนวโน้มทิศทางของบริษัทว่าเป็นยังไง วิเคาระห์

เปรียบเทียบเบื้องต้น)

ความมีสาระสำคัญ (Materiality)

ความมีสาระสำคัญ (Materiality) หมายถึง รายการหรือเหตุการณ์ทางบัญชี ซึ่่งหากผู้ใช้งบการเงินไม่ได้รับทราบแล้ว อาจตัดสินใจผิดไปจากกรณีที่ได้รับทราบ ความมีสาระสำคัญขึ้นอยู่กับขนาดและลักษณะของรายการทางบัญชีที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้ข้อมูล การพิจารณาว่าข้อมูลมีสาระสะคัญหรือไม่นั้น ให้พิจารณาจากผลกระทบที่มีต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจเป็นเกณฑ์

สาระสำคัญ (Materiality)

---> ถ้าเรารู้เราจะตัดสินใจอีกแบบหนึ่ง

---> สาระสำคัญของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน

---> ควรกำหนดสาระสำคัญไว้แต่เนิ่นๆ

ระดับความมีสาระสำคัญ

1. ดูขนาดของกิจการ
2. ถึงแม้ว่าจำนวนเงินจะเท่ากันแต่ผู้สอบบัญชีแต่ละคนจะคิดไม่เหมือนกัน
(ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของ Auditor แต่ละคน)





วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สรุปบทเรียนคาบที่1

- การสอบบัญชี...
คือ การรวบรวมหลักฐานและการประเมินฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน งบกระแสเงินสดว่าถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือไม่

- วัตถุประสงค์ของการสอบบัญชี...
เพื่อให้ผู้สอบบัญชีสามารถแสดงความเห็นต่องบการเงินว่า งบการเงินนั้นได้แสดงฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน งบกระแสเงินสด ของกิจการโดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือไม่

- ผู้เกี่ยวข้องที่ใช้ระบบบัญชีมี 3 ฝ่าย...
(1) Auditor ผู้ตรวจสอบบัญชี - ต้องให้ความเชื่อมั่น
(2) Management ผู้บริหาร ผู้ทำบัญชี – จัดทำตามมาตรฐานการบัญชีที่รองรับทั่วไปสิ่งที่ผู้บริหารให้การรองรับไว้
1.) เกิดขึ้นจริง / มีอยู่จริง
2.) ครบถ้วน3.) สิทธิ / ภาระผูกพัน
4.) การตีราคา / การวัดมูลค่า
5.) การแสดงรายการ / การเปิดเผยข้อมูล
(3) User ผู้ใช้ – จะได้รับรู้ฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน งบกระแสเงินสด จากรายงานประจำปีหรือจากงบการเงินที่นำเสนอ

- หลักการพื้นฐานของการตรวจสอบบัญชี...
(1) จรรยาบรรณหรือมารยาทของผู้สอบบัญชีผู้สอบบัญชีต้องปฏิบัติงานตรวจสอบงบการเงินตามจรรยาบรรณ หรือมารยาทของผู้สอบบัญชี (Code of Ethics for Professional Public Accountants) ที่กำหนดโดยสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพ หลักการพื้นฐานของจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีกำหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชี
(2) มาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไปมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป (Generally Accepted Auditing Standards : GAAS) หมายถึง แนวทางปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชีใช้เป็นเครื่องวัดคุณภาพผลงานของผู้สอบบัญชี
(3) วิจารณญาณในการสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอบบัญชีต้องวางแผนและปฏิบัติงานตรวจสอบงบการเงินโดยใช้วิจารณญาณในการสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ (Professional Skepticism) ต่อข้อมูลของกิจการ โดยคำนึงถึงสถานการณ์แวดล้อมที่อาจมีอยู่ ซึ่งเป็นเหตุให้ข้อมูลในงบการเงินขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ

- ข้อจำกัดของการตรวจสอบบัญชี...
(1) การใช้วิธีการทดสอบรายการในเรื่องของการตรวจสอบไม่สามารถเป็นหลักประกันได้ว่างบการเงินจะต้องมีความถูกต้องสมบูรณ์โดยปราศจากข้อผิดพลาดอย่างสิ้นเชิง เพราะผู้สอบบัญชีทดสอบรายการบัญชีแต่เพียงบางส่วนโดยการเลือกตัวอย่างขึ้นมาตรวจสอบ
(2) การใช้ดุลพินิจอย่างมีเหตุผลในการประเมินความเชื่อถือได้ของหลักฐานการสอบบัญชีหลักฐานการสอบบัญชีที่ได้มาไม่อาจให้ข้อสรุปได้ในตัวเอง แต่ผู้สอบบัญชีจะต้องใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาว่าหลักฐานการสอบบัญชีนั้นมีความเหมาะสมเพียงพอ ซึ่งนำไปสู่ข้อสรุปได้หรือไม่ เพียงใด
(3) ข้อจำกัดของระบบบัญชีและระบบการควบคุมภายในระบบบัญชีย่อมมีความบกพร่องเสมอ และระบบการควบคุมภายในของกิจการมีข้อจำกัดสืบเนื่องซึ่งไม่อาจป้องกัน ค้นหา และแก้ไขข้อผิดพลาด หรือรายการทุจริตได้ในทุกกรณี

วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2552

แนะนำสมาชิกกกลุ่ม06


สมาชิกกลุ่มมีดังนี้...

นายวัชระ คูเจริญ รหัส 500918
นายรชา นันทเลขา รหัส 501035
นางสาวเบญจพร โพธิ์คำ รหัส 503912
นางสาวอภิรดี ตรีลพ รหัส 505040
นางสาวมณทิชา เฮงตระกูล รหัส 505293

นางสาวชินาภรณ์ คล้ายสงคราม รหัส 505789